แชร์

Stem Cells คืออะไร ?

อัพเดทล่าสุด: 17 ม.ค. 2025
110 ผู้เข้าชม

สเต็มเซลล์ หรือ เซลล์ต้นกำเนิด เป็นเซลล์พิเศษที่มีความสามารถในการพัฒนาเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ในร่างกายได้ และมีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ตลอดชีวิต โดยมีคุณสมบัติหลักดังนี้:

    1.    การเพิ่มจำนวนตัวเอง : เซลล์ต้นกำเนิดสามารถแบ่งตัวและสร้างสำเนาของตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง
    2.   การเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์เฉพาะ : เซลล์ต้นกำเนิดสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เม็ดเลือดแดง หรือเซลล์ประสาท เป็นต้น
โดยสเต็มเซลล์จะแบ่งเป็น 2 ชนิด โดยแบ่งตามคุณสมบัติในการแบ่งตัว ได้แก่ 

 

 

Hematopoietic Stem Cells (HSCs) เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด  เป็นสเต็มเซลล์ของระบบเลือด ที่มาจากเลือดและไขกระดูก  เช่น กระแสเลือด หรือเลือดจากสายสะดือ สเต็มเซลล์ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่สามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ต่าง ๆ ในระบบเลือด รวมถึงเซลล์ในกลุ่มเม็ดเลือดต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells) เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells) หรือเกล็ดเลือด (Platelets) โดยการจะนำสเต็มเซลล์ชนิดนี้ไปใช้จะต้องมีการตรวจความเข้ากันของผู้ให้ และผู้รับ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดใช้ในการรักษาความผิดปกติของเลือดต่างๆ

ประโยชน์ทางการแพทย์ของสเต็มเซลล์ Hematopoietic Stem Cells (HSCs) มักจะใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับเลือด หรือโรคที่เป็นความผิดปกติของเลือดชนิดต่างๆ เช่น

    โรคมะเร็งที่เกี่ยวกับระบบเลือด : มะเร็งเม็ดเลือดขาว ลูคีเมีย หรือโรคที่ต้องทำเคมีบำบัด
    โรคธาลัสซีเมีย
     โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่กำเนิด
  •  โรคเกล็ดเลือด หรือเม็ดเลือดแดงผิดปกติ
  •  กลุ่มโรคโลหิต จากจากสาเหตุต่างๆ

Mesenchymal Stem Cells (MSCs) สเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์ เป็นสเต็มเซลล์ที่มาจากเนื้อเยื่อสายสะดือ รก และเยื่อหุ้มรก สเต็มเซลล์ชนิดนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะของเนื้อเยื่อนั้นๆ ได้ เช่น เนื้อเยื่อกระดูก เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อตับ เนื้อเยื่อประสาท เป็นต้น ข้อดีของสเต็มเซลล์ชนิดนี้ คือ ไม่มีความเสี่ยงต่อการปฏิเสธจากร่างกาย ไม่ต้องตรวจความเข้ากันของผู้ให้และผู้รับ สเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์มีคุณสมบัติในการเวชศาสตร์การฟื้นฟู ลดการอักเสบ และปรับสมดุลภูมิคุ้มกันได้อย่างดีเยี่ยม

ประโยชน์ทางการแพทย์ของสเต็มเซลล์ Mesenchymal Stem Cells (MSCs) มักจะถูกใช้ในในด้านความงาม และการฟื้นฟูหรือซ่อมแซมส่วนที่เสื่อมสภาพ/ อักเสบของร่างกาย เช่น

  • ใช้ฟื้นฟูผิวหน้าให้มีความเฟิร์มกระชับ ลดริ้วรอยฝ้า กระ
  • ฟื้นฟูหลังการทำศัลยกรรม
  • กลุ่มโรคทางระบบประสาท: โรคออทิสติก โรคอัลไซเมอร์ โรคพากินสั
  • โรคทางกล้ามเนื้อ และกระดูก: โรคข้อเข่าเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ
  • โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคปอด
อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าสเต็มเซลล์ถือเป็นอีกศาสตร์ทางการแพทย์ยุคใหม่ ที่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างมากมาย และยังมีประโยชน์ในเรื่องของความงาม ทั้งนี้การจะเลือกรักษาโดยการใช้สเต็มเซลล์ ควรเลือกจากแหล่งที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน รวมถึงทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

อ้างอิง 

Li Z., Yijun L., Haojie H. et al. (2022). Efficacy and safety of umbilical cord-derived mesenchymal stem cells in Chinese adults with type 2 diabetes: a single-center, double-blinded, randomized, placebo-controlled phase II trial. Stem Cell Reserch & Therapy.

Yazhen Zhang, (2020). The Clinical Efficacy and Safety of Stem Cell Therapy for Diabetes Mellitus: A Systematic Review and Meta-Analysis.

Jose Matas (2018)Umbilical Cord-Derived Mesenchymal Stromal Cells (MSCs) for Knee Osteoarthritis: Repeated MSC Dosing Is Superior to a Single MSC Dose and to Hyaluronic Acid in a Controlled Randomized Phase I/II Trial (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30592390/)

Chasen Cottle (2022 ). Impact of Cryopreservation and Freeze-Thawing on Therapeutic Properties of Mesenchymal Stromal/Stem Cells and Other Common Cellular Therapeutic (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9045030/)

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการรักษาแผลเรื้อรังด้วยสเต็มเซลล์
การรักษาแผลต่างๆ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำคัญทางการแพทย์โดยเฉพาะแผลเรื้อรังเนื่องจากการฟื้นตัวของแผลประเภทนี้ใช้เวลานานและมักมีภาวะแทรกซ้อนสูง นอกจากนั้นแผลต่างๆยังส่งผลต่อกระทบในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย ทั้งเรื่องความเจ็บปวดต่อร่างก โรคแทรกซ้อน การเข้าสังคม และการใช้ชีวิตประจำวัน
9 ม.ค. 2025
เคล็ดไม่ลับ ดูแลผิวหน้าให้สวยสุขภาพดี
ปัญหาผิวหน้า เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้สาวๆหมดความมั่นใจ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มมากขึ้น แสงแดด ฝุ่นละออง การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการแพ้ครีม และเครื่องสำอาง
9 ม.ค. 2025
พากินสัน โรคทางระบบประสาทที่ไม่ควรมองข้าม
พากินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทอีกหนึ่งโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โรคพาร์กินสันจัดว่ามีความสำคัญต่อการสาธารณสุขไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทุพพลภาพ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต และยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอีกด้วย
9 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy