แชร์

รู้เท่าทัน โรคข้อเข่าเสื่อม!

อัพเดทล่าสุด: 17 ม.ค. 2025
110 ผู้เข้าชม

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้มากในผู้สุงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบว่าวัยทำงานส่วนใหญ่เริ่มมีปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูง โรคนี้เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในการเคลื่อนไหว จนอาจไปรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

งานวิจัยต่างๆ ชี้ว่าสเต็มเซล์อาจเป็นแนวทางใหม่ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์ (Mesenchymal Stem Cells: MSCs) มีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซมกระดูกอ่อนที่เสียหาย และควบคุมการอักเสบได้


สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อ และกระดูกบริเวณใกล้ข้อมีการสึกหรอและเสื่อมลงตามอายุ โดยมีสาเหตุมาจาก

อายุที่เพิ่มขึ้น : เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพลง ส่งผลมาถึงความเสื่อมสภาพของกระดูกข้อต่อ กล้ามเนื้อต่างๆ จนนำมาสู่โรคข้อเข่าเสื่อมได้

กรรมพันธุ์ : จากการศึกษาพบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนในการป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น

เพศ : พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะวัยที่หมดประจำเดือน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นตัวป้องกันความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า

น้ำหนักตัว : เมื่อน้ำหนักตัวมากทำให้เกิดแรงกระทำกับข้อเข่ามากขึ้น รวมถึงเซลล์ไขมันที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้เซลล์กระดูกเสื่อมลง

การใช้งานข้อเข่าที่มากเกินไป : พฤติกรรมการยกของหนักๆ การเดินขึ้นบรรไดบ่อยๆ ส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้

อุบัติเหตุ และโรคบางชนิด : การเกิดอุบัติเหตุ หรือการป่วยเป็นโรคบางชนืด เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์ ข้อเข่าติดเชื้อ โรคที่เกิดกับอวัยวะนอกข้อเข่า รวมทั้งโรคข้ออักเสบชนิดต่างๆ ก็ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

อาการในระยะแรกจะเริ่มเจ็บปวดบริเวณข้อเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว เข่ามีเสียงกรอบแกรบ และเริ่มมีอาการปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนนำมาสู่อาการปวด บวม ร้อนข้อเข่า รู้สึกตึง ฝืดเมื่อใช้งาน เมื่อมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ จะนำมาสู่ข้อเข่าด่งงอ ลักษณะเบี้ยวผิดรูป และเดินไม่ไหวจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

โรคข้อเข่าเสื่อมกับสเต็มเซลล์ UC-MSCs

ปัจจุบันสเต็มเซลล์ UC-MSCs เป็นอีกศาสตร์ทางการแพทย์ที่มีงานวิจัยรองรับ ว่าสามารถรักษาโรคข้อเข่าเส่อมได้ เนื่องจากเซลล์ชนิดนี้สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ต่างๆในร่างกาย รวมถึงเซลล์กระดูกอ่อน และช่วยซ่อมแซม และบรรเทาอาการเสื่อมบริเวณข้อเข่าได้ 


 ผลเของ MSCs ต่อการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (OA) ได้รับการยืนยันผ่านการทดลองหลายการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย MSCs จากสายสะดือ (UC-MSCs) มีอาการปวดลดลง และการทำงาน ของข้อเข่าดีขึ้น


ข้อดีของการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาข้อเข่าเสื่อม

การรักษาด้วยสเต็มเซลล์มีข้อดีหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบอื่น ๆ เช่น:

        • ไม่ต้องผ่าตัดใหญ่: การฉีดสเต็มเซลล์เข้าสู่ข้อเข่าเป็นวิธีการที่ไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ จึงลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน
        • ฟื้นตัวเร็ว: การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการผ่าตัด
        • ลดความเจ็บปวดและการอักเสบระยะยาว: สเต็มเซลล์มีคุณสมบัติในการลดอักเสบและลดความเจ็บปวด ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรักษาด้วยการรับยาแก้ปวดและการผ่าตัด การบำบัดด้วยวิธีนี้ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา ผลการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ปริมาณที่แนะนำคือ 15 ล้านเซลล์ต่อครั้ง เพื่อให้เซลล์ต้นกำเนิดสามารถเพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์กระดูกอ่อน (Chondrocytes) ซึ่งช่วยเพิ่มปริมาณกระดูกอ่อนที่ถูกกัดกร่อนได้

อย่างไรก็ตาม โรคข้อเข่าเสื่อมถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาด้วยสเต็มเซลล์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูข้อเข่า ลดการอักเสบและความเจ็บปวด และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้ และมีความปลอดภัยสูง หากต้องการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม

นายแพทย์วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. (2558).  กระดูกและข้อดูแลได้.  (https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/05272020-1112)

Ye Chen, Rui-Juan Cheng, Yinlan Wu, Deying Huang, Yanhong Li, and Yi Liu. (2024). Advances in Stem Cell-Based Therapies in the Treatment of Osteoarthritis. (https://www.mdpi.com/1422-0067/25/1/394

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการรักษาแผลเรื้อรังด้วยสเต็มเซลล์
การรักษาแผลต่างๆ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำคัญทางการแพทย์โดยเฉพาะแผลเรื้อรังเนื่องจากการฟื้นตัวของแผลประเภทนี้ใช้เวลานานและมักมีภาวะแทรกซ้อนสูง นอกจากนั้นแผลต่างๆยังส่งผลต่อกระทบในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย ทั้งเรื่องความเจ็บปวดต่อร่างก โรคแทรกซ้อน การเข้าสังคม และการใช้ชีวิตประจำวัน
9 ม.ค. 2025
เคล็ดไม่ลับ ดูแลผิวหน้าให้สวยสุขภาพดี
ปัญหาผิวหน้า เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้สาวๆหมดความมั่นใจ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มมากขึ้น แสงแดด ฝุ่นละออง การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการแพ้ครีม และเครื่องสำอาง
9 ม.ค. 2025
พากินสัน โรคทางระบบประสาทที่ไม่ควรมองข้าม
พากินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทอีกหนึ่งโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โรคพาร์กินสันจัดว่ามีความสำคัญต่อการสาธารณสุขไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทุพพลภาพ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต และยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอีกด้วย
9 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy