พากินสัน โรคทางระบบประสาทที่ไม่ควรมองข้าม
อัพเดทล่าสุด: 17 ม.ค. 2025
103 ผู้เข้าชม
พากินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทอีกหนึ่งโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โรคพาร์กินสันจัดว่ามีความสำคัญต่อการสาธารณสุขไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทุพพลภาพ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต และยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอีกด้วย
โรคพาร์กินสัน (Parkinsons disease; PD) มีสาเหตุจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทในสมองส่วนกลางที่เรียกว่า substantia nigra ซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารโดปามีน โดปามีนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกาย เมื่อระดับโดปามีนลดลงจะทำให้เกิดอาการผิดปกติในการเคลื่อนไหว สาเหตุของโรคยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้ยาบางชนิดในผู้สูงอายุ
อาการของโรคพากินสัน
อาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
• อาการเคลื่อนไหวช้า
• อาการสั่นขณะอยู่เฉย
• อาการแข็งเกร็ง
• การทรงตัวลำบาก
อาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
• อาการนอนละเมอในกลางดึก
• อาการดมกลิ่นหรือรับรสอาหารไม่ได้
• อาการท้องผูกเรื้อรัง
• อาการซึมเศร้า

แนวทางการรักษาโรคพากินสันด้วยสเต็มเซลล์ UC-MSCs
เซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์ (UC-MSCs) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถพบได้ในอวัยวะหลายประเภท และมีความสามารถสูงในการปรับภูมิคุ้มกันและแปลงสภาพเป็นเซลล์ประสาท รวมทั้งมีผลในการปกป้องเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตาม MSCs เป็นเซลล์ที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างตามแหล่งที่มา
ในโรคพาร์กินสันที่มีการเสื่อมสภาพอย่างต่อเนื่อง จะมีการเสื่อมและการสูญเสียเซลล์ประสาทที่สร้างโดปามีนในส่วนของ substantia nigra ของสมองส่วนกลาง จากการศึกษาด้านพยาธิวิทยาพบว่าเซลล์ต้นกำเนิดมีศักยภาพในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทและการแทนที่เซลล์ในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย โดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดช่วยเสริมสร้างโดปามีนให้กับเซลล์ประสาทในส่วนสเตรียตัม และส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและหลอดเลือด
กลไกในการรักษา
• การหลั่งปัจจัยพาราไครน์เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท: UC-MSCs สามารถหลั่งปัจจัยการเจริญเติบโตหลายชนิดที่มีบทบาทในการส่งเสริมการฟื้นตัวของ เนื้อเยื่อประสาท เช่น BDNF, GDNF, และ NGF ปัจจัยเหล่านี้มีผลในการปกป้องเซลล์ประสาทจากการเสื่อมและกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ ซึ่งช่วยเสริมการฟื้นตัวของผู้ป่วย โรคพาร์กินสัน
• การทำงานร่วมกับเซลล์ในสมองเพื่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ: เซลล์ UC-MSCs ที่ปลูกถ่ายเข้าสู่สมองสามารถกระตุ้นให้เซลล์ประสาทต้นกำเนิดในร่างกาย (neural stem cells) เพิ่ม จำนวน, เคลื่อนที่, และพัฒนาเป็นเซลล์ประสาทที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ MSCs ยังส่งเสริมการสร้างหลอดเลือดใหม่ในสมอง ซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและการลำเลียงสารอาหาร ที่จำเป็นสำหรับการฟื้นตัว
จะเห็นได้ว่าจากงานวิจัยต่างๆ สเต็มเซลล์สามารถใช้เป็นแนวทางในการรักษาโรคพากินสันได้ แต่อย่างไรก้ตามใครที่อยากใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาจำเป็นต้องปรึกษา และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแล เพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
Jasmina Isaković, Klara Šerer, Barbara Barišić4 and Dinko Mitrečić. (2023). Mesenchymal stem cell therapy for neurological disorders: The light or the dark side of the force?. (https://www.frontiersin.org/journals/bioengineering-and-biotechnology/articles/10.3389/fbioe.2023.1139359/full)
Jinmei Sun, Wei Zhang2, Zheng Zachory Wei, Xiaopeng Song, Liu Jian,Feng Jiang,Shuanglin Wang, Haibo Li9, Yongbo Zhang, Houzhen Tuo and The CtrLyin Group. (2023). Mesenchymal stromal cell biotherapy for Parkinsons disease premotor symptoms. (https://cnjournal.biomedcentral.com/articles/10.1186/s41016-023-00338-z)
โรคพาร์กินสัน (Parkinsons disease; PD) มีสาเหตุจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทในสมองส่วนกลางที่เรียกว่า substantia nigra ซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารโดปามีน โดปามีนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกาย เมื่อระดับโดปามีนลดลงจะทำให้เกิดอาการผิดปกติในการเคลื่อนไหว สาเหตุของโรคยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้ยาบางชนิดในผู้สูงอายุ
อาการของโรคพากินสัน
อาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
• อาการเคลื่อนไหวช้า
• อาการสั่นขณะอยู่เฉย
• อาการแข็งเกร็ง
• การทรงตัวลำบาก
อาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
• อาการนอนละเมอในกลางดึก
• อาการดมกลิ่นหรือรับรสอาหารไม่ได้
• อาการท้องผูกเรื้อรัง
• อาการซึมเศร้า

แนวทางการรักษาโรคพากินสันด้วยสเต็มเซลล์ UC-MSCs
เซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์ (UC-MSCs) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถพบได้ในอวัยวะหลายประเภท และมีความสามารถสูงในการปรับภูมิคุ้มกันและแปลงสภาพเป็นเซลล์ประสาท รวมทั้งมีผลในการปกป้องเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตาม MSCs เป็นเซลล์ที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างตามแหล่งที่มา
ในโรคพาร์กินสันที่มีการเสื่อมสภาพอย่างต่อเนื่อง จะมีการเสื่อมและการสูญเสียเซลล์ประสาทที่สร้างโดปามีนในส่วนของ substantia nigra ของสมองส่วนกลาง จากการศึกษาด้านพยาธิวิทยาพบว่าเซลล์ต้นกำเนิดมีศักยภาพในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทและการแทนที่เซลล์ในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย โดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดช่วยเสริมสร้างโดปามีนให้กับเซลล์ประสาทในส่วนสเตรียตัม และส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและหลอดเลือด
กลไกในการรักษา
• การหลั่งปัจจัยพาราไครน์เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท: UC-MSCs สามารถหลั่งปัจจัยการเจริญเติบโตหลายชนิดที่มีบทบาทในการส่งเสริมการฟื้นตัวของ เนื้อเยื่อประสาท เช่น BDNF, GDNF, และ NGF ปัจจัยเหล่านี้มีผลในการปกป้องเซลล์ประสาทจากการเสื่อมและกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ ซึ่งช่วยเสริมการฟื้นตัวของผู้ป่วย โรคพาร์กินสัน
• การทำงานร่วมกับเซลล์ในสมองเพื่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ: เซลล์ UC-MSCs ที่ปลูกถ่ายเข้าสู่สมองสามารถกระตุ้นให้เซลล์ประสาทต้นกำเนิดในร่างกาย (neural stem cells) เพิ่ม จำนวน, เคลื่อนที่, และพัฒนาเป็นเซลล์ประสาทที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ MSCs ยังส่งเสริมการสร้างหลอดเลือดใหม่ในสมอง ซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและการลำเลียงสารอาหาร ที่จำเป็นสำหรับการฟื้นตัว
จะเห็นได้ว่าจากงานวิจัยต่างๆ สเต็มเซลล์สามารถใช้เป็นแนวทางในการรักษาโรคพากินสันได้ แต่อย่างไรก้ตามใครที่อยากใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาจำเป็นต้องปรึกษา และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแล เพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
Jasmina Isaković, Klara Šerer, Barbara Barišić4 and Dinko Mitrečić. (2023). Mesenchymal stem cell therapy for neurological disorders: The light or the dark side of the force?. (https://www.frontiersin.org/journals/bioengineering-and-biotechnology/articles/10.3389/fbioe.2023.1139359/full)
Jinmei Sun, Wei Zhang2, Zheng Zachory Wei, Xiaopeng Song, Liu Jian,Feng Jiang,Shuanglin Wang, Haibo Li9, Yongbo Zhang, Houzhen Tuo and The CtrLyin Group. (2023). Mesenchymal stromal cell biotherapy for Parkinsons disease premotor symptoms. (https://cnjournal.biomedcentral.com/articles/10.1186/s41016-023-00338-z)
บทความที่เกี่ยวข้อง
การรักษาแผลต่างๆ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำคัญทางการแพทย์โดยเฉพาะแผลเรื้อรังเนื่องจากการฟื้นตัวของแผลประเภทนี้ใช้เวลานานและมักมีภาวะแทรกซ้อนสูง นอกจากนั้นแผลต่างๆยังส่งผลต่อกระทบในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย ทั้งเรื่องความเจ็บปวดต่อร่างก โรคแทรกซ้อน การเข้าสังคม และการใช้ชีวิตประจำวัน
9 ม.ค. 2025
ปัญหาผิวหน้า เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้สาวๆหมดความมั่นใจ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มมากขึ้น แสงแดด ฝุ่นละออง การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการแพ้ครีม และเครื่องสำอาง
9 ม.ค. 2025
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้มากในผู้สุงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบว่าวัยทำงานส่วนใหญ่เริ่มมีปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูง โรคนี้เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในการเคลื่อนไหว จนอาจไปรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
9 ม.ค. 2025